เกี่ยวกับเรา

W healthmed

ตระหนัก และ มุ่งเน้นถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพโดยยึดหลักการใช้กัญชาทางการแพทย์มาเพื่อเป็นแนวทางแบบแผนในการให้บริการ ดูแล และ รักษาผู้มาเข้ารับบริการ นอกจากนี้ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวทางการรักษาเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยแล้วนั้น เราจึงยังส่งเสริมด้านการวิเคราะห์ ค้นคว้าเกี่ยวกับสรรพคุณคุณค่าทางยาของกัญชา กัญชงที่มีผลต่อการรักษาโรคของผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันควบคู่กันไปด้วย

แรงบันดาลใจแรกเริ่มของ W Healthmed มาจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไป โดยผู้ป่วยส่วนมากในระยะเริ่มแรกของการให้บริการจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในแวดวงที่รู้จักกันเป็นหลัก อาทิ ผู้ป่วยที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง กลุ่มผู้รับราชการ นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ป่วยในกลุ่มที่มาเข้ารับบริการการรักษาในแง่ของเวชศาสตร์ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์หรือการคลอดก่อนกำหนด โดยระยะต่อมากลุ่มผู้ป่วยเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานความดัน อย่างไรก็ตามในระยะหลังเราพบว่ามีกลุ่มโรคบางชนิด อาทิ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันผิดปกติซึ่งไม่สามารถรักษาหายได้ โรคผิวหนังบางชนิด โรคผิวหนังติดเชื้อและอักเสบ โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม โรคพากินสัน อาการวัยทองอารมณ์จิตใจไม่ปกติเนื่องจากขาดฮอร์โมนส์ หรือกลุ่มโรคอื่นๆที่ต้องอาศัยแผนการรักษาแบบตะวันตก ซึ่งการรักษาโรคในกลุ่มโรคเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งข้อจำกัดในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจนข้อจำกัดเรื่องการจัดสรรวัตถุดิบในการผลิตยา ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้เองทำให้ส่งผลต่อโอกาสในการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย การใช้กัญชาทางการแพทย์จึงเป็นทางออกหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มโรคดังกล่าวให้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น โดยประเทศอังกฤษและกลุ่มประเทศตะวันตกถือเป็นกลุ่มประเทศแรกๆที่ริเริ่มการนำแนวทางนี้เข้ามาเพื่อรักษาผู้ป่วยของตน

ในอดีต เมื่อมนุษย์รู้จักการสูบกัญชา พวกเขาก็เข้าใจว่ากัญชาทำให้ผ่อนคลาย และ “เก็ทไฮ” ได้ตั้งแต่ยังไม่รู้จักสารของมัน พอภายหลังรู้ว่ามีส่วนประกอบของ THC ก็เริ่มเข้าใจว่าสารดังกล่าวทำให้ผ่อนคลาย และยังมีผลต่อระบบประสาท แต่พอศึกษาไปอีก ก็พบว่ามีสาร CBD อีกตัว ที่ช่วยให้ผ่อนคลายเหมือนกัน แต่สารนี้ไม่ส่งผลให้ “เก็ทไฮ” แต่อย่างใด ซึ่งพอยิ่งศึกษาต่อไปเรื่อยๆ ทั้งการเพิ่มปริมาณ (Dose) ของ CBD ให้มากขึ้นไปอีก ก็พบว่าเจ้าสารตัวนี้มันแทบไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายของมนุษย์ แต่ที่มีผลข้างเคียงของ THC อย่างชัดเจนแทน โดยอาการที่สามารถพบได้ มีตั้งแต่ อาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตอบสนองช้า ตาแดง หรือความทรงจำลดลง เหล่านี้ล้วนเป็นผลของการได้รับ THC ที่มากเกินไปแทบทั้งสิ้น

ประเด็นที่สองที่ควรกล่าวถึงคือสารสำคัญ 2 ชนิดที่กล่าวถึงในประเด็นข้างต้นนั้นเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “แคนนาบินอยด์” ซึ่งไม่ได้พบแต่เฉพาะในพืชกัญชาเท่านั้น แต่ร่างกายของมนุษย์เรายังสามารถผลิตสาร 2 ชนิดนี้ขึ้นมาได้อีกด้วย เพียงแต่ “แคนนาบินอยด์” (Cannabinoid; CBD) ที่ร่างกายของเราผลิตออกมานั้นจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคงความสมดุลในการรักษาความปกติของระบบการทำงานต่างๆในร่างกายก็ต่อเมื่อทำงานร่วมกับตัวรับสัญญาณกัญชาในร่างกาย ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ตัวรับแคนนาบินอยด์” หรือ Cannabinoid receptor type 2 (CB2R) ที่พบได้ในร่างกายของเราเช่นกัน

โดยงานวิจัยที่สามารถนำมาสนับสนุนแนวคิดที่ว่าสาร CBD ไม่ส่งผลกระทบหรือผลข้างเคียงต่อระบบประสาทนั้น สามารถยืนยันได้จากงานวิจัยทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับการศึกษาสารสกัดที่ได้จากพืชกัญชา ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Life Science ในปี 2019  อ้างอิงจากฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ หรือ NIH และได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากองค์การอาหารและยา หรือ FDA ของสหรัฐอเมริกา โดยงานวิจัยเน้นศึกษาเรื่องการออกฤทธิ์ของสาร CBD (Cannabidiol) ในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่ตอบสนองต่อยากันชักโดยทั่วไป ผู้ป่วยออติสติก และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาทอื่นๆ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง โดยทดลองในสัตว์ทดลองที่มีความผิดปกติด้านความวิตกกังวล (Anxiety Disorder) จากการทดลองพบว่า สารสกัด CBD ที่ได้จากพืชกัญชง กัญชา จัดอยู่ในกลุ่มสาร Phyto cannabinoids ซึ่งเป็นสารที่ไม่ส่งผลกระทบต่ออาการทางจิตประสาท การวิจัยนี้นับว่าเป็นการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ได้มีการศึกษาเรื่องการผลิตสาร CBD ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจมีการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อการรักษาสมดุลในการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย จึงมีความจำเป็นต้องได้รับสาร CBD ภายนอก หรือสารสกัดที่ได้จากพืชกัญชาเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบในร่างกายให้มีมากขึ้น

การวิจัยด้านกัญชาทางการแพทย์นั้นนับเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และกำลังเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการพัฒนาเพื่อหาแนวทางในการนำกัญชามาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาทั่วไป

ในส่วนของประเทศไทยนั้นลุงตู้ หรือ นายบัณฑูร นิยมาภา ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวทางการรักษาโรคมะเร็งด้วยกัญชา โดยลุงตู้เองได้เคยยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริมงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ให้มีมากขึ้น รวมถึงเสนอให้รัฐบาลให้การสนับสนุนแพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนไทย และส่งเสริมการปลูกกัญชาให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ลุงตู้ยังเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการใช้กัญชาเพื่อการรักษาด้วย

ในขณะเดียวกัน องค์กรทางการแพทย์ของไทยได้แก่สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เผยแพร่ข้อมูลตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย 16 ตำรับ รวมทั้งเริ่มมีการนำกัญชามาใช้ในหลากหลายรูปแบบมากขึ้นโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้หรือโรคที่ต้องการรักษาเป็นหลัก ได้แก่ การสูบ การใช้สารสกัดกัญชาหยอดใต้ลิ้น การทาเพื่อรักษาโรคทางผิวหนัง การเหน็บทางทวารหรือช่องคลอดเพื่อรักษาริดสีดวงหรือมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

โดยในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองการรักษาผู้ป่วยโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่พิสูจน์แล้วว่าอาการหรือโรคที่รักษาแล้วได้ผลดีคือ

1. Nausea and vomiting from chemotherapy อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
2. Epilepsy ลมชักรักษายาก
3. Multiple sclerosis อาการเกร็งจากปลอกหุ้มประสาทอักเสบ
4. Neuropathic painปวดระบบประสาท
ส่วนการรักษาที่น่าจะได้ประโยชน์ คือ
1.พาร์กินสัน (Parkinson)
2.อัลไซเมอร์ (Alzheimer)
3.ปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis)
4.โรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
5.มะเร็งระยะสุดท้าย (Cancer, end stage)
6.โรคอื่น ๆ ระยะสุดท้าย (Severe diseases, end stage)

W healthmed

กล่าวโดยสรุป W healthmed ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการใช้กัญชาในเชิงการแพทย์ของไทย อีกทั้งเชื่อมั่นว่ายังมีหนทางในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์ได้อีกหลากหลาย ทั้งด้านการวิเคราะห์/วิจัยเพิ่มเติมเรื่องสารประกอบอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกัญชาที่อาจยังประโยชน์ในด้านการรักษาให้แก่ผู้ป่วย และอาจนำมาใช้แทนยาทางเคมีในปัจจุบันได้อีกด้วย ตลอดจนด้านวิธีการสกัดสารสำคัญที่มีสรรพคุณทางยาเพื่อนำไปต่อยอดวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลด้านการรักษาในทางการแพทย์ ในทางสรีรวิทยา หรือในทางการรักษาโรคหรือสภาวะต่าง ๆของผู้ป่วย ทั้งนี้ก็เพื่อขยายความครอบคลุมในการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้แพร่หลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการสั่งยาจากต่างประเทศ และอาจลดภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยได้ในอนาคต